บทความน่ารู้และสาระประโยชน์ต่าง ๆ

loading...

10/11/54

ชนิดของกระดาษ

ชนิดของกระดาษ (Type of paper)

      จากความแตกต่างของกรรมวิธีในการผลิตกระดาษความแตกต่างของเยื่อกระดาษ สารเคมีตลอดจนเครื่องจักรในการผลิต จะมีผลทำให้ลักษณะของกระดาษมีความแตกต่างกันตามวัสดุพื้นฐานในการผลิต ผู้พิมพ์จำเป็นต้องศึกษาถึงประเภทและชื่อเรียกของกระดาษเพื่อประโยชน์ในการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานพิมพ์ ตลอดจนสามารถสื่อความหมายกับผู้อื่นโดยตรงตามวัตถุประสงค์ของการผิมพ์กระดาษจะมีลักษณะ และชื่อเรียกต่างกันดังนี้ (กำธร สถิรกุล,2515:298-300)
1. กระดาษบรู๊ฟ (newsprint)
เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้ป่น จึงทำให้มีราคาถูก คุณภาพต่ำ ถ้าเก็บไว้นานจะกรอบและแดงใช้พิมพ์หนังสือราคาถูกและหนังสือพิมพ์

2. กระดาษปอนด์ (bond paper)
เป็นกระดาษที่มีคุณภาพสูง เยื่อกระดาษทำจากเศษผ้าผสม ด้วยสารเคมี Sulfite ฟอกให้ขาวเป็นพิเศษ เป็นกระดาษใช้พิมพ์งานที่มีค่า เช่นประกาศนียบัตรหรืกระดาษเขียนจดหมาย

3. กระดาษฟอกขาวหรือกระดาษปอนด์ขาว (Wood Free Paper) เป้นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีฟอกขาว ผลิตเป็นกระดาษเพื่อใช้เขียนหรือพิมพ์ ใช้ทำสมุด และพิมพ์หนังสือโดยทั่วไป
4. กระดาษเหนียวหรือกระดาษสีน้ำตาลห่อของ (Kraft paper)
ทำจากเยื่อ Sulphate ผสมสีน้ำตาล มีความเหนียวมากใช้ทำกระดาษห่อของหรือบรรจุภัณฑ์

5. กระดาษปก (Cover Paper)
เป็นกระดาษปอนด์ทำให้หนาเป็นพิเศษ มีความเหนียวทนทาน เพื่อใช้ทำปกหนังสือ

6. กระดาษวาดเขียน (Drawing Paper) เป็นกระดาษปอนด์ขาว แต่ทำให้เนื้อกระดาษสามารถรับสีได้ง่าย และมีผิวเหมาแก่การเขียนภาพระบายสี ดูดหมึกดูดสีไว้โดยง่าย
7. กระดาษอาร์ต(Arts,Coate paper)


เป็นกระดาษที่ได้มีการเคลือบผิวหน้าด้วยวัสดุบางอย่างให้มีผิวเรียบมัน เพื่อใช้พิมภาพที่มีรายละเอียด
8. กระดาษกล่อง (Box board) เป็นกระดาษที่ด้านหน้าทำจากเยื่อเคมี มีลักษณะเป้นกระดาษปอนด์ขาว แต่ด้านหลังทำจากเยื่อไม้ป่น หรืออาจเป็นเยื่อกระดาษเก่าซึ่งจะมีสีคล้ำ กระดาษชนิดนี้จะผลิจากเครื่องจักรชนิด Cylinder machine หลายๆชั้น
9. กระดาษโปสเตอร์ (Poster paper)
เป็นกระดาษปอนดืที่ขัดมันเรียบหน้าเดียว ส่วนอีกหน้าหนึ่งจะปล่อยให้หยาบไว้

10. กระดาษแข็ง (Hard board)
เป็นกระดาษที่ใช้ทำปกแข็งด้านในของหนังสือเมื่อใช้งานจะต้องมีกระดาษหรือวัสดุอื่นหุ้ม จึงเป็นกระดาษที่ไม่ต้องฟอกขาว ทำจากเยื่อไม้ป่นหรือเยื่อกระดาษเก่า เนื้อกระดาษจะดูสีคล้ำ และผิวไม่เรียบ

11. กระดาษพาทเม้นท์ (Parchment paper) เป็นกระดาษทำเลียนแบบแผ่นหนังฟอกเยื่อกระดาษใช้เศษผ้าเป็นกระดาษที่ใช้กับงานพิมพ์ที่มีความสำคัญ นอกจากนี้ยังอาจแบ่งชนิดของกระดาษตามลักษณะผิวของกระดาษโดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด (วันชัย ศิริชนะ,2529:552-554)
ขนาดกระดาษ (Size of paper)
     ในการที่ผู้พิมพิมพ์ประสงค์จะสั่งซื้อกระดาษเพื่อการพิมพ์นั้น ควรจะต้องทราบถึงขนาดมารตฐานของกระดาษที่ประสงค์จะนำมาใช้พิมพ์ เพื่อจะได้สะดวกต่อการคำนวณปริมาณกระดาษที่เราจะซื้อโดยปกติผู้พิมพ์ควรสั่งซื้อกระดาษตามขนาดตามมาตรฐานของกระดาษแต่ละชนิด มากกว่าจะสั่งกระดาษขนาดพิเศษซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าปกติ สำหรับขนาดมาตรฐานในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นได้แบ่งกระดาษออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆโดยแต่ละประเภทจะมีขนาดมาตรฐานดังนี้
ตารางแสดงขนาดมาตรฐาน อเมริกัน

ชื่อกระดาษ
การใช้งาน
ขนาด
1.Newsprint
กระดาษบรู๊ฟใช้พิมพ์หนังสือพิมพ์
24x36 นิ้ว
2.Book
ใช้พิมพ์หนังสือทั่วไป
25x38 นิ้ว
3.Bond
ใช้เป็นสมุดเขียน
17x22 นิ้ว
4.Cover
ใช้ทำปก
20x26 นิ้ว
4.Card board
ใช้ทำกล่อง
22x28 นิ้ว


สำหรับในประเทศไทยกระดาษปรู๊ฟ (Newsprint) ซึ่งใช้พิมพ์หนังสือยกโดยทั่วไปมีอยู่ 2 ขนาด ได้แก่ ขนาด 34 X 43 นิ้ว และขนาด 25 X 35 นิ้ว จึงมีผลทำให้เกิดหนังสือ 8 หน้ายกธรรมดาและหนังสือ 8หน้ายกเล็ก ตามลำดับ


        ในปัจจุบันองค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ(Internationnal Standard Origanization) หรือ ISO ได้พยายามกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยกำหนดขนาดกระดาษรีมให้เป็นระบบมาตรฐานได้แก่การสร้างรูปร่างของกระดาษ ซึ่งเมื่อตัดแบ่งครึ่งแล้วจะได้ส่วน (Proportion)ระหว่างความกว้างกับความยาวคงทุกครั้ง  อัตราส่วนระหว่างความกว้าง : ความยาวจะเท่ากับ 1 : 1.414 เสมอ
ขนาดของกระดาษ มาตรฐาน ซึ่งเรียกว่า กระดาษชุด A เริ่มด้วย AO มีขนาดความกว้าง x ความยาว เท่ากับ 1 ตารางเมตรพอดี เพื่อเป็นการสะดวกต่อการคิดน้ำหนักเป็นกรัม หรือแกรม/ตารางเมตรอีกด้วย ดังนั้นหน่วยของการวัดกระดาษมาตรฐาน จึงนิยมใช้มาตราเมตริกเสมอ

มาตรฐานของขนาดกระดาษ ISO 216
       มาตรฐานขนาดกระดาษในระบบ ISO 216ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยมีพื้นฐานแนวคิดมาจากมาตรฐานระบบ German DIN 476 จุดเด่นของมาตรฐานนี้คือเมื่อนำกระดาษที่มีขนาดตามที่กำหนดไว้มาพับครึ่ง ขนาดของกระดาษที่พับแล้วยังคงมีสัดส่วน (อัตราส่วนของด้านสูงกับด้านกว้าง) เดียวกับขนาดก่อนพับ และหากพับครึ่งไปอีก ขนาดใหม่ก็ยังคงมีสัดส่วนเดียวกันหมด ประโยชน์ทีได้คือเมื่อนำกระดาษไปตัดแบ่งไปใช้งานตามมาตรฐานนี้ จะไม่เกิดการเสียเศษหากมีงานที่ต้องการย่อส่วน เพื่อให้ได้ผลตามที่หลักการที่กำหนด ได้มีการคำนวณและพบว่าอัตราส่วนความสูงหารด้วยความกว้างจะเท่ากับ สแควร์รูทของสอง (1.4142) และยังพบว่าระยะความกว้าง, ความสูงของขนาดพับครึ่งแล้วจะลดลงเป็น 70.7% จากเดิมเสมอ

มาตรฐานรหัสชุด A

         มาตรฐานขนาดกระดาษชุด A เป็นมาตรฐานในระบบ ISO ซึ่งเป็นระบบเมตริก จะกำหนดรหัส A0 ให้มีขนาดพื้นที่เท่ากับ 1 ตารางเมตร จากการคำนวณจะได้ขนาดของ A0 เท่ากับ 841 x 1189 มิลลิเมตร เมื่อทำการแบ่งครึ่งจากขนาด A0 ดังกล่าว ขนาดใหม่ที่ได้ตั้งเป็นรหัส A1 หากทำการแบ่งไปเรื่อย ๆ ก็จะได้รหัส A2, A3, A4 .... มาตรฐานชุดนี้ เป็นมาตรฐานที่สร้างความคุ้นเคยและถูกนำใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะขนาด A4 ซึ่งมีขนาด 210 x 297 มิลลิเมตร เป็นขนาดของกระดาษถ่ายเอกสารที่ใช้กันมาก กระดาษหัวจดหมาย หนังสือ นิตยสาร ฯลฯ และถ้านำกระดาษขนาด A4 ที่มีน้ำหนักเท่ากับ 80 กรัมต่อตารางเมตร กระดาษมาชั่งจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 5 กรัมพอดี ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการหาน้ำหนักของกองกระดาษดังกล่าวโดยใช้วิธีนับจำนวนแผ่น



2A
1189  x 1682 mm.
46.81  x  66.22 in.

ใช้สำหรับเขียนแบบแปลน
A0
 841  x 1189 mm.
33.11  x  46.81 in.
A1
 594  x   841 mm.
23.39  x  33.11 in.
A2
 420  x   594 mm.
16.54  x  23.39 in.
A3
 297  x   420 mm.
 11.69  x  16.54 in.
A4
 210  x   297 mm.
   8.27  x  11.69 in.
กระดาษจดหมาย วารสาร บันทึก
A5
 148  x   210 mm.
  5.83  x   8.27 in.
กระดาษจดหมายเล็ก
A6
 105  x   148 mm.
  4.13  x   5.83 in.
โปสการ์ดสากล สมุดพก
A7
   74  x   105 mm.
  2.91  x   4.13 in.
สมุดพกขนาดเล็ก
A8
   52  x    74 mm.
  2.05  x   2.91 in.
นามบัตร
A9
   37  x    52 mm.
  1.46  x   2.05 in.
ตั๋วรถไฟ
A10
   26  x    37 mm.
  1.02  x   1.46 in.
แสตมป์


มาตรฐานรหัสชุด B

          มาตรฐานรหัสชุด B นี้จะเป็นที่คุ้นเคยน้อยกว่ารหัสชุด A วิธีการกำหนดขนาดในรหัสชุดนี้เริ่มโดยให้รหัส B1 มีขนาดอยู่ระหว่าง A0 กับ A1 และให้มีระยะด้านสูงเท่ากับ 1 เมตร ทำให้ด้านกว้างเท่ากับ 0.707 เมตร (มาจากข้อกำหนด ความสูงหารความกว้างเท่ากับสแควร์รูทของสอง) ดังนั้น ขนาดของรหัสชุด B จะมีด้านใดด้านหนึ่ง เป็นครึ่งหนึ่ง หรือหนึ่งในสี่ หรือหนึ่งในแปดของ 1 เมตรไปเรื่อย ๆ งานที่นิยมใช้มาตรฐานรหัสชุดนี้คืองานโปสเตอร์ หนังสือ (ใช้ B5) พาสปอร์ต ซองเอกสาร



BO
 1000  x 1414 mm.
39.37  x  55.67 in.
B1
 707  x 1000 mm.
27.83  x  39.37 in.
B2
 500  x   707 mm.
19.68  x  27.83 in.
B3
 353  x   500 mm.
 13.90  x  19.68 in.
B4
 250  x   353 mm.
   9.84  x  13.90 in.
B5
 176  x   250 mm.
  6.93  x    9.84 in.
B6
 125  x   176 mm.
  4.92  x    6.93 in.
B7
   88  x   125 mm.
  3.46  x    4.92 in.
B8
   62  x     88 mm.
  2.44  x    3.46 in.
B9
   44  x     62 mm.
  1.73  x    2.44 in.
B10
   31  x     44 mm.
  1.22  x    1.73 in.

มาตรฐานรหัสชุด C           
     รหัสชุดนี้มีไว้ใช้กำหนดขนาดของซองใส่เอกสาร ที่เลขเดียวกัน รหัสของ C จะใหญ่กว่าของ A แต่เล็กกว่าของ B ดังนั้น กระดาษจดหมาย A4 จะสามารถใส่ลงในซองขนาด C4 และซองขนาด C4 ก็จะใส่ลงในซอง B4 ได้พอเหมาะ
C0
 917  x 1297 mm.
36.10  x  51.06 in.
C1
 648  x   917 mm.
25.51  x  36.10 in.
C2
 458  x   648 mm.
18.03  x  25.51 in.
C3
 324  x   458 mm.
 12.76  x  18.03 in.
C4
 229  x   324 mm.
   9.02  x  12.76 in.
C5
 162  x   229 mm.
  6.38  x    9.02 in.
C6
 114  x   162 mm.
  4.49  x    6.38 in.
C7
   81  x   114 mm.
  3.19  x    4.49 in.
C8
   57  x     81 mm.
  2.24  x    3.19 in.
C9
   40  x     57 mm.
  1.57  x    2.24 in.
C10
   28  x     40 mm.
  1.10  x    1.57 in.
         ยังมีมาตรฐานหนึ่งที่มีใช้ในประเภทอเมริกา ซึ่งนิยมกำหนดเป็นขนาดมาตรฐานสำหรับกระดาษเขียนแบบของสถาปนิกและวิศวกร นั่นคือมารตฐานของ ANSI

มาตรฐานขนาดกระดาษ ANSI

          ในปี 1995 สถาบันอเมริกันเนชั่นแนลสแตนดาร์ด (American National Standards Institute) ได้กำหนดมาตรฐานขนาดกระดาษขึ้น โดยให้ขนาดมาตรฐาน 8.5 x 11 นิ้วใช้รหัส ANSI A และขนาด ledger/tabloid ใช้รหัส ANSI B ซึ่งมาตรฐานรหัสชุดนี้ใกล้เคียงกับมตรฐานของระบบ ISO ซึ่งเวลาแบ่งครึ่งจะได้ขนาดที่เท่ากัน 2 ชิ้น แต่จะต่างจากระบบ ISO ตรงที่อัตราส่วนของความสูงกับความกว้างกลายเป็น 2 ชุดสลับไปมา แทนที่จะเป็นชุดเดียวเท่ากันหมด (ให้ดูตารางข้างล่าง)


ขนาด
อัตราส่วน  (สูง/กว้าง)
ขนาดของ
เทียบเคียงกับระบบ ISO
มิลลิเมตร
นิ้ว
ANSI A
216 x  279
8.50 x 11.00
1.2941
Letter
A4
ANSI B 
432  x  279
17.00 x 11.00
    1.5455
Ledger
A3
279  x  432
11.00 x 17.00
Tabloid
ANSI C
432 x  559
17.00 x 22.00
1.2941

A2
ANSI D
559 x  864
22.00 x 34.00
1.5455

A1
ANSI E
864 x 1118
34.00 x 44.00
1.2941

A0
       
มาตรฐานอเมริกาเหนือ

              มาตรฐานที่กล่าวข้างต้นเป็นมาตรฐานในระบบ ISO สำหรับในทวีปอเมริกาเหนือ ยังมีการใช้กระดาษที่มีขนาดมาตรฐานต่างออกไป ซึ่งสามารถดูได้จากตารางข้างล่างนี้   


Letter
 216  x  279 mm.
 8.50  x  11.00 in.
Legal
 216  x  356 mm.
 8.50  x  14.00 in.
Ledger
 432  x  279 mm.
17.00  x  11.00 in.
Tabloid
 279  x  432 mm.
 11.00  x  17.00 in.


         นอกจากมาตรฐานขนาดของกระดาษที่กล่าวมาแล้ว ยังมีมาตรฐานที่จัดทำขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ เช่น มาตรฐาน JIS ของประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน SIS ของประเทศสวีเดน อีกทั้งยังมีชื่อเรียกขนาดมาตรฐานตามการใช้งานต่าง ๆ เช่น ขนาด F4 (Foolscap) ซึ่งมีความกว้างเท่ากับ A4 แต่มีความสูงมากกว่า (210 x 330 mm.) ขนาดนามบัตร ขนาดโปสการ์ด เป็นต้น

อ้างอิง: 'paper size' www.wikipedia.org, 'paper' www.sizes.com