เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นอุปกรณ์สำนักงานอย่างหนึ่งซึ่งใช้ในการสำเนาเอกสาร โดยการใช้ความร้อน หรือหลักไฟฟ้าสถิต ในการอ่านเอกสารต้นฉบับและ พิมพ์เอกสารอีกฉบับออกมา
- เครื่องถ่ายเอกสารระบบไฟฟ้าสถิต
เครื่องถ่ายเอกสารระบบไฟฟ้าสถิต เป็นกระบวนการถ่ายเอกสารแบบใช้กระดาษเคลือบ ซึ่งใช้ประจุไฟฟ้าลบในการถ่ายทอดภาพจากต้นฉบับ เช่นเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสารแบบใช้กระดาษธรรมดา แต่กระบวนการของระบบไฟฟ้าสถิต ใช้วัสดุและเทคนิคคล้ายกับการอัดรูปถ่าย กล่าวคือ เริ่มต้นด้วยการทำให้กระดาษเคลือบมีประจุไฟฟ้าลบ แล้วปล่อยให้กระดาษเคลือบสัมผัส กับลำแสงที่สะท้อนมาจากต้นฉบับ จากนั้นผ่านกระดาษลงในสารละลายออกและเป่าให้แห้งด้วยอากาศร้อนก่อนออกจากเครื่อง กระดาษเคลือบเป็นกระดาษที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสารผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษ หน้ากระดาษด้านที่สัมผัสกับแสงเคลือบด้วยซิงค์ออกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่มีความไวต่อแสง ส่วนด้านหลังกระดาษเคลือบด้วยสารละลายเรซินซึ่งจะอุดรูพรุนของกระดาษ ทำให้กระดาษ ไม่ดูดซับของเหลวเมื่อถูกจุ่มลงในสารละลาย เนื่องจากกระดาษมีความไวต่อแสง ดังนั้น จึงต้องป้องกันไม่ให้ถูกแสง นอกจากในช่วงเวลาที่ถ่ายเอกสารเท่านั้น
- เครื่องถ่ายเอกสารระบบสอดสี
เครื่องถ่ายเอกสารนี้ สามารถให้ภาพสีบนกระดาษธรรมดา โดยการผสมกันของผงหมึกแม่สี 3 สี คือ สีเหลือง (Yellow) , สีฟ้า (Cyan) , และสีแดง (Magenta) การผสมกันของ ผงหมึกแม่สีทั้งสามสี จะได้สีเขียว (Green) , สีแดง (Red) , สีน้ำเงิน (Blue) และสีดำ (Black) เพิ่มขึ้นมา รวมเป็นสีทั้ง หมด 7 สีด้วยกัน กระบวนการถ่ายเอกสารมีความเร็วมาก การถ่ายเอกสารที่ใช้สีครบเต็มอัตรา ใช้เวลาประมาณ 33 วินาที สำหรับแผ่นแรกและหากใช้ต้นฉบับเดิม แผ่นต่อ ๆ มาจะใช้เวลาแผ่นละประมาณ 18 วินาทีเท่านั้น และหากเลือกจำนวนสีน้อยลง กระบวนการถ่ายเอกสารก็จะยิ่งใช้เวลาน้อยกว่าเดิมอีก บนแผงหน้าปัด ของเครื่องถ่ายเอกสารจะมีปุ่มสำหรับเลือกจำนวนสีและความเข้มที่ต้องการ
ที่มา : http://th.wikipedia.org/
อันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสาร
อันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสารมีอยู่จริง แต่ผลกระทบต่อสุขภาพผู้ใช้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่า มีการปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยหรือไม่ โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีการใช้เครื่องถ่ายเอกสารแต่ละครั้งจะมี "สภาพที่ไม่ปลอดภัย" ปรากฏออกมา
อันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสารมีอยู่จริง แต่ผลกระทบต่อสุขภาพผู้ใช้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่า มีการปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยหรือไม่ โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีการใช้เครื่องถ่ายเอกสารแต่ละครั้งจะมี "สภาพที่ไม่ปลอดภัย" ปรากฏออกมา
1. ก๊าซโอโซน
ก๊าซโอโซนเป็นก๊าซในภาวะที่ไม่เสถียรของก๊าซออกซิเจนก๊าซโอโซนจะเกิดขึ้นในระหว่างที่มีการถ่ายเอกสาร ซึ่งก๊าซโอโซนนี้จะเกิดขึ้นจากการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันสูง ดังเช่น เครื่องถ่ายเอกสาร อุปกรณ์ฉายรังสี และกิจกรรมการเชื่อมไฟฟ้า เป็นต้น ก๊าซโอโซนเป็นสารที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาได้เป็นก๊าซที่ไม่เสถียร ในบรรยากาศการทำงานแบบสำนักงาน ก๊าซโอโซนมี มี half life เท่ากับ 6 นาที ก๊าซโอโซนนี้เป็นก๊าซที่มีความเป็นพิษสูง เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุดในบรรดาอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการถ่ายเอกสาร ก๊าซโอโซน เป็นก๊าซที่มีกลิ่นหอม เครื่องมือวัดสามารถตรวจจับก๊าซโอโซนได้ถึงแม้ก๊าซโอโซนจะมีความเข้มข้นเพียง 0.01 ถึง 0.02 ppm (ส่วนในล้านส่วน) ระดับความเข้มข้นเฉลี่ย (TWA) ที่ยอมรับให้มีก๊าซโอโซนได้ในบรรยากาศการทำงาน คือ 0.1 ppm ในระหว่างถ่ายเอกสาร ก๊าซโอโซนเป็นก๊าซหลักที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการหมุนไปและหมุนกลับของแกนหมุนและกระดาษ นอกจากนี้ก๊าซโอโซนยังเกิดขึ้นจากแสงอุลตร้าไวโอเลตที่ออกจากหลอดไฟในเครื่องถ่ายเอกสารด้วย
ผลกระทบต่อสุขภาพ
ปกติก๊าซโอโซนจะสลายกลับไปเป็นก๊าซออกซิเจนได้อย่างรวดเร็ว ปกติแล้วปริมาณความเข้มข้นของก๊าซโอโซนในบริเวณรอบเครื่องถ่ายเอกสารนั้นจะไม่สูงพอที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ หรืออาการผิดปกติ อัตราการสลายไปเป็นก๊าซออกซิเจนของก๊าซโอโซนนั้นขึ้นอยู่กับระยะเวลา อุณหภูมิ ซึ่งก๊าซโอโซนจะสลายกลายเป็นก๊าซออกซิเจนได้ดีในสภาวะที่อุณหภูมิสูง นอกจากนี้อัตราการสลายตัวยังขึ้นอยู่กับโอกาสที่ก๊าซโอโซนจะสัมผัสกับพื้นที่ผิววัตถุต่างๆ หากก๊าซโอโซนมีโอกาสสัมผัสกับพื้นที่ผิวต่างๆ ได้มาก ก๊าซโอโซนจะสลายตัวได้ดี
อย่างไรก็ตาม ความเข้มข้นของก๊าซโอโซนจะเพิ่มขึ้นสูง หากมีการระบายอากาศที่ไม่ดีพอ ถ้าความเข้มข้นของก๊าซโอโซนถึง 0.25 ppm หรือสูงกว่า ก๊าซโอโซนนี้สามารถทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ โพรงจมูก ทรวงอก และปอด อาการอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอันมีสาเหตุจากก๊าซโอโซน ได้แก่ อาการปวดศรีษะ หายใจถี่ วิงเวียน ปวดเมื่อย สูญเสียการได้กลิ่นชั่วคราว หากระดับความเข้มข้นของก๊าซโอโซนในบรรยากาศการทำงานสูงถึง 10 ppm จะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้การได้รับก๊าซโอโซนในปริมาณน้อยเป็นระยะเวลานานจะมีผลต่อปอด บางหน่วยงานมีการศึกษาพบว่าว่า ระดับความเข้มข้นของก๊าซโอโซนในบรรยากาศการทำงานที่ 0.1 ppm มีผลทำให้อายุสั้นกว่าที่ควรจะเป็น
อย่างไรก็ตาม ความเข้มข้นของก๊าซโอโซนจะเพิ่มขึ้นสูง หากมีการระบายอากาศที่ไม่ดีพอ ถ้าความเข้มข้นของก๊าซโอโซนถึง 0.25 ppm หรือสูงกว่า ก๊าซโอโซนนี้สามารถทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ โพรงจมูก ทรวงอก และปอด อาการอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอันมีสาเหตุจากก๊าซโอโซน ได้แก่ อาการปวดศรีษะ หายใจถี่ วิงเวียน ปวดเมื่อย สูญเสียการได้กลิ่นชั่วคราว หากระดับความเข้มข้นของก๊าซโอโซนในบรรยากาศการทำงานสูงถึง 10 ppm จะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้การได้รับก๊าซโอโซนในปริมาณน้อยเป็นระยะเวลานานจะมีผลต่อปอด บางหน่วยงานมีการศึกษาพบว่าว่า ระดับความเข้มข้นของก๊าซโอโซนในบรรยากาศการทำงานที่ 0.1 ppm มีผลทำให้อายุสั้นกว่าที่ควรจะเป็น
2.ผงหมึก
ผลกระทบต่อสุขภาพ แสงอุลตร้าไวโอเลตเป็นสาเหตุทำให้เกิดการระคายเคืองตา ปวดตา และมีอาการปวดศรีษะได้ หากมองแสงจากเครื่องถ่ายเอกสารโดยตรง นอกจากนี้แสงจากเครื่องถ่ายเอกสารยังทำให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นเกิดความรำคาญ รบกวนการทำงานของเพื่อนร่วมงานได้
ผงหมึกในเครื่องถ่ายเอกสารระบบแห้งเป็นผงหมึกที่มีส่วนผสมของผงคาร์บอนสีดำ (carbon black) โดยทั่วไปผงหมึกจะมีส่วนผสมของผงคาร์บอนดำประมาณ 10% และมีส่วนผสมของ polystyrene acrylic และ polyester resin ผงหมึกที่ละเอียดจะสามารถหลุดออกมาได้ในระหว่างการถ่ายเอกสาร ถ้าระบบควบคุมระดับของผงหมึกเสีย หรือระบบปิดอัตโนมัติที่ควบคุมเศษผงหมึกเสีย นอกจากนี้ผงหมึกยังสามารถหลุดร่วงออกมาได้ระหว่างการซ่อมบำรุงรักษาเครื่อง หรือระหว่างการเปลี่ยนแกนตลับหมึก
ผลกระทบต่อสุขภาพ
ฝุ่นผงหมึกระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการไอ หรือจาม ผงหมึกบางรุ่นมีส่วนประกอบของ nitropyrenes และ trinitrofluorene ซึ่งแม้ว่า รุ่นของผงหมึกที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมี nitropyrenes และ trinitrofluorene แล้วก็ตาม แต่ยังพบบ้างในผงหมึกบางรุ่น ซึ่ง nitropyrenes และ trinitrofluorene นั้น มีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็ง จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผิวหนังหรือการหายใจเข้าไป วิธีการป้องกันที่ดีที่สุด เพื่อสุขภาพของผู้ถ่ายเอกสาร คือ เลือกผงหมึกที่ไม่มีสารประกอบดังกล่าว หากผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องปฏิบัติงานที่มีโอกาสที่จะสัมผัสสารโดยผิวหนัง หรือหายใจเข้าไป ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องจับต้องตัวกรองหมึก ต้องสวมถุงมือยางแบบใช้แล้วทิ้ง และสวมหน้ากากผ้า ส่วนประกอบ polymer ประเภทเรซินพลาสติกซึ่งพบได้บ่อยในผงหมึกของเครื่องถ่ายเอกสาร สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ ระคายเคืองได้หากมีการสัมผัสซ้ำ อาการที่พบได้บ่อย คือ เป็นผื่นคัน และยังอาจทำให้เกิดการระคายเคืองตาด้วย ผงหมึกยังมีส่วนประกอบของ Methanol ซึ่งมีคุณสมบัติติดไฟได้ สาร Methanol มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้รู้สึกปวดศรีษะ วิงเวียน ระคายเคืองตา Methanol นี้พบได้ทั้งในเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่อง Laser Printer จึงควรจัดตำแหน่งอุปกรณ์สำนักงานเหล่านี้ให้อยู่ในพื้นที่ที่ถ่ายเทอากาศได้ดี
3. เสียงดัง
เครื่องถ่ายเอกสารที่สามารถถ่ายเอกสารด้วยความเร็วสูง หรือการถ่ายเอกสารที่สามารถแยกย่อยงานถ่ายเอกสารออกเป็นชุดๆ นั้นจะมีเสียงดัง เครื่องถ่ายเอกสารที่เก่าอาจมีระดับความดังของเสียงถึง 45 dB(A) และเครื่องถ่ายเอกสารเครื่องใหญ่ก็อาจก่อให้เกิดเสียงดังที่มีระดับความดังของเสียงถึง 80 dB(A) ได้ ทั้งนี้ระดับความดังของเสียงในบรรยากาศการทำงานของสำนักงานโดยทั่วไปนั้น จะมีเสียงดังน้อยกว่า 60 dB(A)
ผลกระทบต่อสุขภาพ
เสียงดังที่เกิดจากการถ่ายเอกสาร โดยเฉพาะเสียงดังของการถ่ายเอกสารที่ถ่ายต่อเนื่องติดต่อกันทำให้รบกวนผู้ทำงานอื่นๆ ที่อยู่ข้างเคียง ก่อให้เกิดบรรยากาศการทำงานที่ไม่น่าทำงาน ในอุตสาหกรรมประเภทโรงพิมพ์ เสียงดังนับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญยิ่ง ก่อให้เกิดปัญหาเสื่อมสมรรถภาพการได้ยิน หูหนวก หรืออาการมีเสียงอื้ออึงในหูของผู้ปฏิบัติงาน
4. แสงอุลตร้าไวโอเลต
แสงอุลตร้าไวโอเลต หรือรังสีอุลตร้าไวโอเลต เป็นแสงที่ออกจากหลอดฟลูออเรสเซนท์ที่อยู่ในเครื่องถ่ายเอกสารโดยส่วนใหญ่ หลอดที่ใช้ในเครื่องถ่ายเอกสารเป็นหลอดฟลูออเรสเซนท์ที่มีส่วนประกอบของ metal halide หรือ quarts แสงที่ออกมาจากเครื่องถ่ายเอกสารเป็นแสงอุลตร้าไวโอเลตซึ่งหากสัมผัสกับดวงตาโดยตรงจะทำให้ปวดแสบตาได้ ดังนั้น ทุกครั้งที่ถ่ายเอกสารจะต้องปิดแผ่นปิด cover ทุกครั้ง
5. อันตรายอื่น ๆ จากเครื่องถ่ายเอกสาร
5.1 ระดับอุณหภูมิที่สูงขึ้น
ในการถ่ายเอกสาร เครื่องถ่ายเอกสารจะปลดปล่อยอากาศที่มีความร้อนสูง ดังนั้นหากมีระบบระบายอากาศที่ไม่สามาถกระจายอากาศที่มีความร้อนสูงขึ้นนี้ดีพอ จะเป็นสาเหตุทำให้อุณหภูมิในสำนักงานสูงขึ้น ผู้ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานจะรู้สึกไม่สบายตัวเท่าที่ควร
5.2 กล้ามเนื้อล้า
การถ่ายเอกสารติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ในงานถ่ายเอกสารที่มีการออกแบบลักษณะการทำงานที่ไม่เหมาะสม ทำให้ผู้ถ่ายเอกสารเกิดความเมื่อยล้าจากการทำงานได้
5.3 อันตรายจากสารฟอร์มัลดิไฮด์ น้ำยาที่อาบกระดาษที่ใช้ในการถ่ายเอกสาร
กระดาษที่ใช้ในการถ่ายเอกสาร เรียกว่า Carbonless Copy Paper จะมีการใช้สารฟอร์มัลดิไฮด์เคลือบอาบกระดาษไว้ ซึ่งสารฟอร์มัลดิไฮด์ปริมาณเพียงเล็กน้อยที่ติดอยู่บนผิวกระดาษนั้น สามารถทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะ ระคายเคืองผิว ตา และระบบทางเดินหายใจได้ จึงควรหลีกเลี่ยงสัมผัสใบหน้า ตา ในระหว่างที่จับกระดาษ ล้างมือด้วยสบู่อ่อนหลังทำงานจับกระดาษ และทาโลชั่นหลังจากล้างมือ เพื่อป้องกันผิวแห้ง
ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากเครื่องถ่ายเอกสาร
ผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมจากเครื่องถ่ายเอกสาร พบว่า ผู้ถ่ายเอกสาร หรือผู้ปฏิบัติงานใกล้เคียงจุดที่มีกิจกรรมถ่ายเอกสาร จะมีอาการมึนหัว เวียนศรีษะ อ่อนเพลีย ง่วงซึม เป็นอาการป่วยแบบหนึ่งที่พบบ่อยในกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงาน อาศัยอยู่ หรือทำงานอยู่ในห้องปรับอากาศในอาคารเป็นเวลานาน เป็นอาการป่วยที่เรียกว่า building related illnesses เป็นอาการป่วยเรื้อรัง อันเนื่องมาจากคุณภาพของอากาศในอาคารไม่ดี (IAQ : Indoor Air Quality) อาการป่วยแบบนี้จะมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน
การทำงานกับเครื่องถ่ายเอกสารอย่างปลอดภัย
- ก๊าซโอโซน
1. เลือกใช้เครื่องถ่ายเอกสารที่ปล่อยก๊าซโอโซนต่ำ หรือเลือกใช้เครื่องถ่ายเอกสารที่มีตัวกรองก๊าซโอโซนติดอยู่ที่เครื่อง ตัวกรองก๊าซโอโซนนี้ทำขึ้นจาก activated carbon จะติดอยู่ที่จุดระบายอากาศของเครื่องถ่ายเอกสาร สารตัวกรอง activated carbon สามารถทำให้ก๊าซโอโซนสลายกลายเป็นก๊าซออกซิเจนได้หมด 100%
2. บำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสาร และสารตัวกรองอย่างสม่ำเสมอ การบำรุงรักษาที่ดีสามารถลดการปล่อยก๊าซโอโซนของเครื่องถ่ายเอกสารได้
3. หลีกเลี่ยงที่จะไม่สูดดมกลิ่นใดๆ ที่ออกมาจากเครื่องถ่ายเอกสาร เพราะกลิ่นเหล่านั้นเป็นสาเหตุการระคายเคืองจมูกและทรวงอก ควรมีการตรวจวัดคุณภาพของอากาศในอาคาร (IAQ : Indoor Air Quality) เป็นประจำสม่ำเสมอ
- การใช้เครื่องถ่ายเอกสารและการบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสาร
1. ในการใช้เครื่องถ่ายเอกสารให้ปฏิบัติตามคู่มือของผู้ผลิต หากมีข้อสงสัยให้ศึกษาจากคู่มือการใช้งานและให้ใช้รุ่นของหมึกตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ การจัดวางตำแหน่งของเครื่องถ่ายเอกสารให้จัดวางในตำแหน่งที่คู่มือของผู้ผลิตแนะนำ ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทเพียงพอ และมีอากาศไหลเวียนได้รอบตัวเครื่องถ่ายเอกสาร
2. ข้อแนะนำของผู้ผลิตเกี่ยวกับการทำความสะอาด การเปลี่ยนตลับผงหมึก ตัวกรอง หรือแปรงต่างๆ จะต้องปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดในคู่มือการใช้งาน
3. ควรจัดทำตารางบันทึกการซ่อมบำรุงรักษาไว้ประจำแต่ละเครื่อง ให้มีการบันทึกลงตารางบันทึกทุกครั้งเมื่อมีการบำรุงรักษา และจัดเก็บตารางบันทึกไว้เพื่อตรวจสอบว่า มีการบำรุงรักษาเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่
- การจัดการระบายอากาศ
1. พื้นที่ที่มีการระบายอากาศดีเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการวางเครื่องถ่ายเอกสาร เพราะพื้นที่ที่มีการระบายอากาศดี ฝุ่น ก๊าซและไอระเหยต่างๆ จะถูกกำจัด หรือสลายไปได้โดยง่าย
2. วางเครื่องถ่ายเอกสารไว้ในห้องที่มีการระบายอากาศที่ดี มีอากาศธรรมชาติหมุนเวียน มีอากาศใหม่ไหลถ่ายเททดแทนอากาศเดิมอยู่เสมอ หรือเป็นห้องที่มีระบบกรองอากาศ และบริเวณโดยรอบตำแหน่งที่วางเครื่องถ่ายเอกสารนั้น ต้องเป็นพื้นที่ว่าง เพื่ออากาศไหลเวียนได้โดยสะดวก
3. ควรมีการตรวจวัดความสามารถในการไหลเวียนอากาศในจุดที่วางเครื่องถ่ายเอกสารเป็นประจำ
- เสียงดัง วางเครื่องถ่ายเอกสารในตำแหน่งที่จะก่อให้เกิดเสียงดังน้อยที่สุด ถ้าจำเป็นอาจพิจารณาจัดทำฉากกั้น เพื่อกั้นและลดเสียงดังที่เกิดจากเครื่องถ่ายเอกสาร หรืออาจติดตั้งวัสดุดูดซับเสียงดัง
- แสงอุลตร้าไวโอเลต และอุณหภูมิของห้องที่เพิ่มสูงขึ้น
1. ปิดแผ่นปิด cover ทุกครั้งที่ถ่ายเอกสาร ป้องกันแสงอุลตร้าไวโอเลตที่อาจจะทำอันตรายดวงตา ด้วยการหลีกเลี่ยง ไม่มองแสงที่ออกจากเครื่องถ่ายเอกสาร
2. หากเครื่องถ่ายเอกสารมีระบบของการป้อนกระดาษ และถ่ายเอกสารอัตโนมัติ ให้ใช้ระบบป้อนกระดาษและถ่ายเอกสารอัตโนมัติ เพราะสามารถป้องกันแสงอุลตร้าไวโอเลตที่ออกจากเครื่องถ่ายเอกสารได้ดีอีกวิธีหนึ่ง
3. ถ้ามีงานถ่ายเอกสารที่ไม่สามารถปิดแผ่นปิด cover ได้ ให้ผู้ถ่ายเอกสารหลีกเลี่ยง ไม่มองแสงจากเครื่องถ่ายเอกสาร
4. ส่วนของเครื่องถ่ายเอกสารจะร้อนในระหว่างที่มีการใช้เครื่อง หากกระดาษติดในเครื่องถ่ายเอกสาร และเมื่อผู้ถ่ายเอกสารหยิบกระดาษที่ติดเครื่องออก อาจทำให้มือ แขนของผู้ถ่ายเอกสารไปสัมผัสถูกส่วนของเครื่องที่ร้อน เป็นแผลพุพองได้ เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายดังกล่าว ในการหยิบกระดาษที่ติดเครื่องออก ควรปิดสวิทซ์เครื่องถ่ายเอกสาร และควรใช้คีมที่ไม่ได้เป็นโลหะคีบจับ เพื่อดึงกระดาษที่ติดในเครื่องออก หากจำเป็นต้องดึงกระดาษที่ติดในเครื่องในบริเวณที่อยู่ใกล้ตำแหน่งของเครื่องถ่ายเอกสารที่ร้อน ให้ปิดสวิทซ์เครื่องถ่ายเอกสาร และรอสักครู่เพื่อให้เครื่องถ่ายเอกสารเย็นเสียก่อน จึงจะสามารถดึงกระดาษที่ติดในเครื่องออกมาได้โดยปลอดภัย
- สารเคมีที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร
1. ต้องสื่อสารอันตรายและวิธีการใช้สารเคมีที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร โดยให้ขอ MSDS : Material Safety Data Sheet จากผู้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสาร
2. ให้ใช้ระบบควบคุมระดับของผงหมึก และระบบปิดอัตโนมัติที่ควบคุมเศษผงหมึก
3. ให้สวมถุงมือยางแบบใช้แล้วทิ้ง เมื่อต้องสัมผัสกับสารเคมีที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร หรือสัมผัสสารเคมีโดยใช้ระบบ wet process chemical ในการทำความสะอาด กำจัดตลับผงหมึก หรือผงหมึกนั้น ต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้สารเคมี หรือผงหมึกสัมผัสโดนผิวหนัง
4. หลังจากเปลี่ยนตลับผงหมึก ควรทิ้งตลับผงหมึกเก่าในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้สนิท และติดฉลาก "ของเสียอันตราย" ที่ถุงพลาสติกดังกล่าวด้วย ในการนำถุงพลาสติกที่ใส่ตลับผงหมึกไปทิ้ง ต้องปฏิบัติอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ตลับผงหมึก หรือผงหมึกหก ร่วงได้ และให้นำตลับผงหมึกไปกำจัดตามวิธีการกำจัดของเสียอันตราย
ที่มา : www.siamsafety.com
ก